tax-personal-income-exemption

การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วสามารถยื่นแบบทางออนไลน์ได้ เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคนในการยื่นแบบ ถึงแม้จะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี สำหรับการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2563 สามารถยื่นแบบทางออนไลน์ได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีเงินได้บางประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี อันเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ สำหรับประเภทของเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สำคัญ ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร  มีดังต่อไปนี้

1. สวัสดิการประเภท ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ายานพาหนะ ค่าเดินทาง ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

สวัสดิการประเภทค่าเบี้ยเลี้ยง

1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ายานพาหนะ ค่าเดินทาง ที่ลูกจ้างหรือผู้มีหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศเป็นครั้งคราว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยต้องเข้าลักษณะดังนี้ (ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.59/2538)

(ก) ต้องเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

(ข) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณีตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น โดยไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์

(ค) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงตาม (ข) และบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลนั้นได้จ่ายไปโดยสุจริต เพียงเฉพาะในส่วนที่ไม่เกินอัตราตาม (ข)

(ง) การเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตาม (ก) ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้ โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณีด้วย

1.2 ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

1.3 เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง

2. ค่าสวัสดิการอื่นๆที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง

ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน เงินช่วยการศึกษาบุตร เครื่องแบบพนักงาน ผลประโยชน์จากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น

ค่าสวัสดิการใหม่ที่นายจ้างให้กับลูกจ้าง

2.1. เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สําหรับ (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสําหรับการรักษาพยาบาลที่กระทําในประเทศไทย (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะปฏิบัติการตาม หน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ เงินจํานวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 149 (พ.ศ.2523) ใช้บังคับสําหรับเงินได้ปี 2523 เป็นต้นไป)

2.2 เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้านหรือเงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่ โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหาร ทําการนอกเวลา (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 136 (พ.ศ.2517) ใช้บังคับสําหรับเงินได้ปี 2517 เป็นต้นไป)

2.3 เงินได้ที่คํานวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจํานวนคนละไม่เกิน 2 ชุดต่อปีและเสื้อนอกในจํานวนคนละไม่เกิน 1 ตัวต่อปี “เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกายรวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ กําหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบ เครื่องแต่งกายที่ทําด้วยโลหะ หรืออัญมณีที่มีค่า เช่น เงิน ทองคํา ทับทิม หยก เป็นต้น

2.4 เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สําหรับ ปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สําหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป

2.5 เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้ (ก) เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับ เนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพหรือ ออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ํากว่า 55 ปีบริบูรณ์ (ข) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่เมื่อออกจากงานแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ ทั้งจํานวนในกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพหรืออายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 292 (พ.ศ.2555) ใช้บังคับสําหรับเงินได้ปี 2553 เป็นต้นไป)

3. เงินได้จากมรดก เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หา

เงินได้จากมรดก

3.1 เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558)

3.2 เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ไว้ในนามของกองมรดกแล้ว

3.3 เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

3.4 เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น

3.5 เงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ผู้ให้แสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้ เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กําหนด ในกฎกระทรวง (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558)

4. ดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย

4.1 ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์

4.2 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะ กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจํานวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด ทั้งนี้เจ้าของบัญชีเงินฝากต้องไม่คัดค้านการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารให้แก่กรมสรรพากร หากไม่ยินยอมจะไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี

4.3 ดอกเบี้ยพันบัตรหรือดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ.2534) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2534

5. อื่นๆ

สวัสดิการอื่นๆ

5.1 เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขาย หลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ.2554) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2534)

5.2 รางวัลจากสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐ รางวัลสลากบำรุงสภากาชาดไทย รางวัลที่รชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ราชการจ่ายให้ เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด

5.3 เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพหรือว่างงาน

5.4 เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขาย หลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ.2554) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2534)

ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปี มีข้อมูลอัพเดตที่เกี่ยวข้อง เช่น รายการค่าลดหย่อน สิทธิประโยชน์ทางภาษี PEAK มีบทความที่ให้ความรู้ทางบัญชี ภาษีแก่บุคคลทั่วไป นักบัญชี และผู้ประกอบการ

ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com
หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK