howto-record-transfer-close-salestax-purchase-NA007

โดยปกติแล้วทุกสิ้นเดือนของทุกเดือนจะโอนปิดบัญชีภาษีขาย – ภาษีซื้อ เข้า บัญชีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กรมสรรพากร มี 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีที่ 1 ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย
  • กรณีที่ 2 ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ

กรณีที่ 1 : ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย

ในกรณีที่ ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอนำเครดิตภาษีซื้อนี้ไปทบกับบิลรอบหน้าหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรได้ ตามตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่าง เดือนมีนาคม 2022 กิจการมีการซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 100,000 บาท และมีการขายสินค้าไปจำนวน 85,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) จะเป็นดังนี้

  • วิธีคำนวณภาษีซื้อ = 100,000 * 7% = 7,000 บาท
  • วิธีคำนวณภาษีขาย = 85,000 * 7% = 5,950 บาท

หรือหากกิจการมีการสร้างเอกสารใบกำกับภาษีขายหรือลงทะเบียนใบกำกับภาษีซื้อไว้ ระบบจะบันทึกผังบัญชีภาษีขาย – ภาษีซื้อ และข้อมูลดังกล่าวจะแสดงที่รายงานภาษีขาย – ภาษีซื้อให้อัตโนมัติ สามารถนำข้อมูลนี้มาสรุปเพื่อส่งภาษีหรือโอนปิดบัญชีภาษีขาย – ภาษีซื้อได้

ดังนั้น กิจการมีมูลค่าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย = 7,000 – 5,950 = 1,050 บาท

ขั้นตอนที่ 1.1 : โอนปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายที่สมุดรายวัน

ทุกสิ้นเดือนบันทึกปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายที่สมุดรายวัน โดยเลือกเมนูบัญชี > บัญชีรายวัน > +สร้างสมุดรายวัน กรณีที่ภาษีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย แสดงว่า กรมสรรพากรเป็นลูกหนี้ของกิจการ กิจการสามารถเลือกบันทึกผังบัญชีที่ต้องการได้หรือกิจการสามารถเลือกได้ 2 วิธีดังนี้

  • ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้ผังบัญชี 115405 – ลูกหนี้สรรพากร
  • นำภาษีมูลค่าเพิ่มไปทบกับรอบถัดไป ใช้ผังบัญชี 115451 – เครดิต ภ.พ.30 ที่ชำระเกินรอนำไปใช้

หมายเหตุ : กิจการสามารถขอนำเครดิตภาษีซื้อนี้ไปทบกับบิลรอบหน้าหรือยื่นขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรได้ สามารถดู ปฏิทินภาษีอากร เพื่อส่งภาษีได้เลย

ขั้นตอนที่ 1.3 : กรณีที่กิจการขอคืนภาษีและได้รับเงินจากกรมสรรพากรแล้ว

ให้สร้างใบเสร็จรับเงิน โดยระบุข้อมูลที่ต้องการและลงผังบัญชีเป็น 115405 – ลูกหนี้สรรพากรหรือผังบัญชีที่ตั้งไว้ที่สมุดรายวัน เลือกช่องทางที่รับเงินมาและระบุจำนวนเงินที่ได้รับ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กด “อนุมัติใบเสร็จรับเงิน”

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีที่สมุดรายวัน

กรณีที่ 2 : ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ

ในกรณีนี้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากร ตามตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่าง เดือนเมษายน 2022 กิจการมีการซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 90,000 บาท และมีการขายสินค้าไปจำนวน 120,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) จะเป็นดังนี้

  • วิธีคำนวณภาษีซื้อ = 90,000 * 7% = 6,300 บาท
  • วิธีคำนวณภาษีขาย = 120,000 * 7% = 8,400 บาท

ดังนั้น กิจการมีมูลค่าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ = 8,400 – 6,300 = 2,100 บาท ทำให้กิจการต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 2,100 บาท

ขั้นตอนที่ 2.1 : โอนปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายที่สมุดรายวัน

กรณีที่ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ แสดงว่า กรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ กิจการสามารถเลือกบันทึกผังบัญชีที่ต้องการได้หรือเลือกผังบัญชี 215302 – เจ้าหนี้สรรพากร

ขั้นตอนที่ 2.2 : กิจการจ่ายชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ กิจการจะต้องจ่ายเงินเพื่อส่งภาษีในเดือนถัดไปไม่สามารถทบบิลได้เหมือนกรณีที่ 1 สามารถดู ปฏิทินภาษีอากร เพื่อส่งภาษีได้เลย เมื่อมีการยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 2,100 บาท แก่กรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว กิจการจะต้องทำการบันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อแสดงการจ่ายเงินแก่กรมสรรพากร โดยเข้าที่เมนูรายจ่าย > บันทึกรายการจ่าย ระบุผังบัญชีที่ต้องการหรือผังบัญชี 215302 – เจ้าหนี้สรรพากร ระบุช่องทางและจำนวนเงินที่ชำระ ตามตัวอย่างด้านล่าง เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กด “อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย”

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีที่สมุดรายวัน

-จบขั้นตอนวิธีบันทึกโอนปิดภาษีขาย – ซื้อด้วยตนเองที่สมุดบัญชีรายวัน-