โดยหลักการนั้น จุดรับรู้ภาษีเมื่อขายสินค้าจะเกิดเมื่อมีการซื้อ-ขายสินค้า แต่ในส่วนของการให้บริการ ภาษีขายจะเกิดเมื่อเราให้บริการเสร็จ หรือเมื่อมีการรับชำระเงิน หรือตอนที่สร้างเอกสารใบกำกับภาษี

ในกรณีที่ผู้ใช้งานเป็นธุรกิจให้บริการ จึงมีกรณีที่ออกใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี สำหรับค่าบริการแล้วมีภาษีขายเกิดขึ้นเลย แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินจากลูกค้า รายการดังกล่าวนี้ โปรแกรมบัญชี PEAK จะมีการบันทึกภาษีขายรอเรียกเก็บ แล้วหลังจากได้รับชำระเงิน จะมีการกลับรายการแล้วบันทึกเป็นภาษีขายแทนให้อัตโนมัติเลย

โดยระบบได้ทำการบันทึกรายการและลงบัญชีแบบแยกรายการให้ ซึ่งจะทำให้การสั่งพิมพ์รายงานภาษีขายตรงตามวันที่ที่เราออกเอกสารใบกำกับ โดยตามตัวอย่างด้านล่าง วันที่ออกเอกสาร เป็นเดือน 02 (ก.พ.) ส่วนวันครบกำหนดหรือวันรับชำระเป็นเดือน 03 (มี.ค.) จะทำให้เวลาที่เราสั่งพิมพ์รายงานภาษีขายจะแสดงให้ ณ วันที่เราสร้างเอกสารใบกำกับภาษีในเดือน 02 (ก.พ.) นั่นเอง

ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเราสร้างใบแจ้งหนี้ค่าบริการเสร็จเรียบร้อยแล้ว กดเข้าไปดูรายการที่ในสมุดบัญชีอ้างอิง ระบบจะบันทึกรายการ เดบิตและเครดิต ได้ตามภาพด้านล่าง

ระบบจะทำการลงรายการ เครดิต ภาษีขายรอเรียกเก็บไว้ให้

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อเราทำการออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี เสร็จแล้ว ให้กดเข้าไปดูรายการในสมุดบัญชีอ้างอิง รายการจะทำการลงบันทึกบัญชีไว้ให้

เมื่อกดเข้ามาที่สมุดบัญชีที่อ้างอิง จะพบว่ารายการได้ทำการปรับปรุงโดย  เดบิตภาษีขายรอเรียกเก็บออกให้ แล้วทำการบันทึกรายการโดย เครดิตภาษีขาย ภ.พ.30 

และถ้าหากเปิดดูรายการจากเลขที่บัญชีบันทึก RV-201903001 จะพบว่าระบบได้ทำการลงรายการไว้เพียงการรับชำระเงิน การลงรายการภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย และล้างลูกหนี้ออกให้

ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com
หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK