tax-ecommerce-business

แม่ค้าออนไลน์ทั้งหลายคงเคยได้ยินว่า “เมื่อมีรายได้ก็ต้องเสียภาษี ”แต่หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมียอดขายหรือรายรับที่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือยัง ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า รายได้จากการออนไลน์เป็นรายได้จากการซื้อมาขายไป ประเภท40(8) ซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นภาษี

คนขายของออนไลน์เสียภาษีอย่างไรบ้าง

แม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา การยื่นแบบเสียภาษีเพียงแค่ยื่นแสดงรายได้ประจำปี ซึ่งรายได้จากการขายออนไลน์ คุณสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงหรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาตามที่กฎหมายกำหนดดังนี้

1. ถ้าเลือกหักค่าใช้จ่ายจริง ก็ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายได้แก่ใบเสร็จรับเงิน เพื่อประกอบการยื่นภาษีด้วย

2. ถ้าเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ก็ไม่จำเป็นต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายเพราะกฎหมายให้สิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตรา 60% ของรายได้

เมื่อเงินได้สุทธิที่คำนวณมากกว่า 150,000 บาท  จึงจะมีภาษีที่ต้องชำระ

   เงินได้สุทธิ = (เงินได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี  

ตัวอย่าง เช่น

คุณมิ้นต์ขายเสื้อผ้าที่เหมามาจากโรงงาน แล้วขายทางโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook, Instagram และหน้าเว็บไซต์ของตัวเอง โดยมีรายได้ทั้งสิ้น 1 ล้านบาท ในปี 2562 โดยยังไม่หักค่าใช้จ่าย ต้นทุนต่างๆ

ถ้าเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้ เมื่อคิดจาก 60% ของ 1 ล้านบาทจะได้ 600,000 บาท

ถ้าเลือกหักค่าใช้จ่ายจริง จะคุ้มกว่าถ้าค่าใช้จ่ายจริงมากกว่า 600,000 บาท

สำหรับค่าลดหย่อน ถ้าไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเลย ก็คิดค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

ในที่นี้สมมติเลือกหักเหมา เงินได้สุทธิ = 1,000,000-600,000-60,000 = 340,000 บาท จากตารางการคำนวณภาษีด้านล่างนี้ คำนวณภาษีได้ 7,500+4000 = 11,500 บาท

อ้างอิง: เอกสารวิธีกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562 : ภ.ง.ด.90

ภาษีเหมาจ่ายคืออะไร

ถ้าบุคคลธรรมดามีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือน การนำรายได้ทางอื่นทั้งหมดที่มิใช่เงินเดือนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายมารวมกันแล้วไปคูณด้วย0.5%  เรียกว่าภาษีเหมาจ่าย    

ซึ่งการคำนวณภาษีแบบเหมาจ่ายนี้ มีข้อดีคือการคำนวณภาษีง่ายและสะดวก ไม่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและไม่ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ยุ่งยาก เหมาะกับผู้ประกอบหรือร้านค้าออนไลน์ที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาทต่อปี

ตัวอย่าง เช่น

ภาษีเหมาจ่ายคืออะไร

คุณมิ้นต์มีรายได้จากการขายของออนไลน์ 1 ล้านบาท เมื่อคำนวณภาษีด้วยวิธีเหมาจ่ายโดยนำรายได้ 1 ล้านบาท คูณ 0.5% เท่ากับ 5,000 บาท

เมื่อเปรียบเทียบการคำนวณภาษีแบบธรรมดา และภาษีแบบเหมาจ่าย จะเห็นว่าคุณมิ้นต์จ่ายภาษีแบบเหมาจ่ายต่ำกว่าภาษีแบบธรรมดา ถึง 6,500 บาท (ภาษีแบบธรรมดา 11,500 บาท, ภาษีเหมาจ่าย 5,000 บาท)

การจัดการและวางแผนภาษีเป็นสิ่งที่จำเป็นกับผู้ประกอบการ เพราะการทำบัญชีและจัดการภาษี นอกจากจะมองเห็นกำไร และรายได้ เพื่อจัดการการลงทุนในธุรกิจแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายกิจการ เช่น การขอสินเชื่อ การหาหุ้นส่วนมาลงทุนในธุรกิจ และการขยายธุรกิจจนกระทั่งจดทะเบียนเป็นบริษัท เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และสร้างความมั่นคงในกิจการ

และ PEAK ก็เป็นโปรแกรมบัญชีที่พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกรายให้จัดการบัญชีง่าย เอกสารได้เอง เชื่อมต่อการทำงานกับนักบัญชีได้สะดวก เห็นรายงานสรุปรายได้แบบเรียลไทม์ และที่สำคัญ เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีทั่วประเทศ พร้อมแนะนำให้ผู้ประกอบการที่ต้องการหานักบัญชีปิดงบ หรือสำนักงานบัญชีในการจัดการบัญชีและภาษี

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์