howto-use-productionwork-new-peak-AA004

โปรแกรม PEAK จะรองรับธุรกิจประเภทซื้อมาขาย-ไป และบริการ หากเป็นธุรกิจผลิตยังไม่รองรับ 100% แต่หากต้องการใช้งานสามารถประยุกต์ตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ผูกผังบัญชีสินค้า
ขั้นตอนที่ 2 ทำการซื้อวัตถุดิบ

ขั้นตอนที่ 3 การตัดสต๊อกวัตถุดิบเพื่อประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป

ตัวอย่าง
การประกอบสินค้าเก้าอี้ไม้ 1 ตัว จะมีส่วนประกอบคือ ไม้ ตะปู ค่าแรง

ขั้นตอนที่ 1 ผูกผังบัญชีสินค้าที่เกี่ยวข้อง

หากต้องการบันทึกสายผลิต ขั้นตอนแรกจะเป็นการผูกผังบัญชี สินค้าตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถดูวิธีการเพิ่มสินค้าแบบเต็มได้ตามลิงก์นี้ การเพิ่มสินค้า/บริการในหน้า NEW PEAK

จากตัวอย่าง สินค้า ไม้ และ ตะปู เป็นวัตถุดิบ การผูกผังบัญชีจะผูกได้ตามตัวอย่างด้านล่าง
– บันทึกบัญชีซื้อ = วัตถุดิบคงเหลือ
– บันทึกบัญชีต้นทุนขาย = ต้นทุนผลิตสินค้า

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดบันทึก

ขั้นตอนที่ 2 ทำการซื้อวัตถุดิบ

  • เข้าที่เมนูรายจ่าย > บันทึกซื้อสินค้า > สร้าง
  • กรอกรายละเอียดที่ต้องการ เมื่อกรอกเรียบร้อยแล้วกดอนุมัติซื้อสินค้าหมายเหตุ หากซื้อวัตถุดิบคนละครั้งหรือได้เอกสารแยกส่วนกันให้บันทึกแยกตามเอกสาร บันทึกซื้อสินค้า
  • ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

ขั้นตอนที่ 3 การตัดสต็อกวัตถุดิบเพื่อประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป

ตัวอย่าง

ส่วนประกอบสินค้าเก้าอี้ไม้ 1 ตัว จะมีส่วนประกอบดังนี้
– ไม้ 5 แผ่น แผ่นละ 150 บาท
– ตะปู 2 กล่อง กล่องละ 50 บาท

– ค่าแรง 1,000 บาท
ขั้นตอนที่ 3.1 การตัดสต๊อกวัตถุดิบ ให้ทำที่เมนูรายรับ > ใบเสร็จรับเงิน > สร้าง

3.1.1. ลูกค้า/ผู้จ่ายเงิน : สามารถระบุเป็นชื่อกิจการตนเอง หรือสร้างผู้ติดต่อใหม่ว่า “นำมาผลิต”

3.1.2 วันที่ออก : ระบุวันที่เรานำสินค้าออกจากสต็อกเพื่อผลิต

3.1.3. เอกสารเลขที่ : ระบบจะทำการรันให้อัตโนมัติตามที่ตั้งค่าไว้ แต่ทางเราแนะนำให้สร้างเลขที่เอกสารแยกจากเอกสารขายเพื่อเวลาดึงรายงานขายจะได้พบข้อแตกต่างว่าเอกสารไหนขายเอกสารไหนเป็นเอกสารที่ใช้ประยุกต์การใช้งาน

3.1.4 กลุ่มจัดประเภท : เป็นการจัดประเภทเอกสารเพื่อง่ายต่อการดูข้อมูล ซึ่งสามารถดูได้ตามการจัดกลุ่มประเภท นี้

3.1.5. ช่องสินค้า/บริการ : กรอกข้อมูลที่ต้องการ
– รหัสสินค้าที่นำมาผลิต = วัตถุดิบที่นำมาประกอบ

– จำนวน = ใส่จำนวนวัตถุดิบที่นำมาผลิต
– ช่องราคา = ระบุยอดเท่ากับกับศูนย์บาท

– ภาษี = ระบุว่าไม่มี

เมื่อระบุข้อมูลเอกสารใบเสร็จรับเงินเรียบร้อย ให้ทำการกดอนุมัติเอกสารใบเสร็จรับเงิน

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

ขั้นตอนที่ 3.2 บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

จากตัวอย่างมีการตัดวัตถุดิบแล้ว แต่ขั้นตอนการผลิตยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าอีก เช่น ค่าแรง ซึ่งสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายได้โดย เข้าที่เมนูรายจ่าย > บันทึกค่าใช้จ่าย > สร้าง และกรอกข้อมูลตามที่ต้องการ

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

ขั้นตอนที่ 3.3 บันทึกวัตถุดิบที่นำมาประกอบแล้วได้เป็นสินค้าสำเร็จรูป

เมื่อตัดสต็อกวัตถุดิบแล้ว ให้นำต้นทุนทั้งหมดที่ต้องการ มาบันทึกนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปนี้

จากตัวอย่าง เก้าอี้ไม้ 1 ตัว จะมีส่วนประกอบดังนี้

– ไม้ 5 แผ่น แผ่นละ 150 บาท = 750 บาท
– ตะปู 2 กล่อง กล่องละ 50 บาท = 100 บาท

– ค่าแรง 1,000 บาท
รวมต้นทุน 1,850 บาท

การจ่ายชำระเลือกขั้นสูง > เลือกผังบัญชีเดียวกันกับที่ผูกกับสินค้าบันทึกต้นทุนไว้ เพื่อให้ผังบัญชีนั้นหักล้างกัน

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

ตัวอย่างหน้ารายงานเคลื่อนไหวสต็อกสินค้าวัตถุดิบ

ตัวอย่างเคลื่อนไหวสินค้าสำเร็จรูป

– จบขั้นตอนประยุกต์ใช้งานประเภทธุรกิจผลิต –