การนำเข้าเอกสารใบเสร็จรับเงินสามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 การนำเข้าเอกสารใบเสร็จรับเงินแบบสร้างข้อมูลนำเข้าบนโปรแกรม

วิธีที่ 2 การนำเข้าเอกสารใบเสร็จรับเงินโดยใช้ไฟล์ Excel

วิธีที่ 1 การนำเข้าเอกสารใบเสร็จรับเงินแบบสร้างข้อมูลนำเข้าบนโปรแกรม

สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1.1. เลือกเมนูรายรับ >> นำเข้าเอกสาร

ขั้นตอนที่ 1.2. กดปุ่ม + สร้างข้อมูลนำเข้า

ขั้นตอนที่ 1.3. เลือกใบเสร็จรับเงิน เมื่อเลือกเรียบร้อยแล้วกดปุ่มสร้างข้อมูลนำเข้า

ขั้นตอนที่ 1.4. ระบุรายละเอียดต่างๆ

  • ลำดับ : เป็นลำดับที่ของเอกสารใบใบเสร็จรับเงินหลักที่ไม่รวมรายการย่อย ซึ่งลำดับระบบจะทำการรันลำดับที่ให้อัตโนมัติ
  • เลขที่เอกสาร : เป็นเลขที่เอกสารของใบเสร็จรับเงินซึ่งหากไม่กรอกระบบจะรันเลขที่ให้อัตโนมัติ แต่หากต้องการกำหนดเลขที่เอกสารใบเสร็จรับเงินเองก็สามารถคีย์เลขที่เอกสารเองได้เลยค่ะ
  • วันที่เอกสาร : จะแสดงเป็นวันที่กดสร้างเอกสารซึ่ง Defaul เป็นวันที่ปัจจุบัน แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนวันที่ก็สามารถกำหนดเองได้เลย
  • ลูกค้า : ระบุผู้ติตต่อ
  • ใบกำกับภาษี : สามารถเลือกออกใบกำกับภาษีหรือไม่ออกใบกำกับภาษีได้

-หากเลือก “ออกใบกำกับภาษี” เอกสารใบแจ้งหนี้จะเป็น ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

-หากเลือก “ไม่ออกใบกำกับภาษี” เอกสารจะเป็น ใบเสร็จรับเงิน

  • ประเภทราคา : สามารถเลือเป็นราคาแยกภาษีและราคารวมภาษีได้

ราคาแยกภาษี คือ ราคาขาย 100 บาท ลูกค้าต้องจ่ายเงิน 100 + ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% = 107 บาท โดยผู้ขายมีรายได้ 100 บาท และมีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท

ราคารวมภาษี คือ ราคาขาย 100 บาท ลูกค้าชำระเงิน 100 แต่ผู้ขายได้รายได้ 93.46 บาท และมีภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.54 บาท

  • สินค้า/บริการ : ระบุสินค้าหรือบริการที่ต้องการออกใบเสร็จรับเงิน
  • คำอธิบาย : จะดึงมาจากชื่อสินค้าที่สร้างไว้หน้าสินค้าและสามารถระบุคำอธิบายเพิ่มเติมที่ช่องนี้ได้ และคำอธิบายรายการ ระบบรองรับได้ที่ 1,000 ตัวอักษร
  • จำนวน : ระบุจำนวนสินค้าที่ต้องการออกใบเสร็จรับเงิน ระบบรองรับทศนิยมได้สูงสุด 4 ตำแหน่ง
  • ราคา/หน่วย : ระบุราคาต่อหน่วย ระบบรองรับทศนิยมได้สูงสุด 4 ตำแหน่ง
  • ส่วนลด/หน่วย : ระบุส่วนลดต่อหน่วย ระบบรองรับทศนิยมได้สูงสุด 4 ตำแหน่ง
  • มูลค่าก่อนภาษี : มูลค่าก่อนบวก VAT 7% ช่องนี้ระบบจะคำนวนให้เอง
  • ภาษี : ระบุภาษีของสินค้าที่จะออกใบแจ้งหนี้ สามารถเลือกได้3อย่างคือ

– 7%

– 0%

-ไม่มีภาษี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของรายการนั้นๆ
  • หัก ณ ที่จ่าย : ระบุภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
  • รับชำระโดย : ระบุธนาคารที่รับชำระเงิน
  • รับชำระเงินรวม : จำนวนเงินที่ได้รับจริงที่รวม VATและหัก WHT แล้ว
  • ภาษีหักรวม : จำนวนเงินที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย

สามารถกดเลื่อนเพื่อกรอกข้อมูลได้

** หมายเหตุ ข้อมูลที่จำเป็นต้องระบุมีดังนี้หากไม่ระบุระบบจะไม่ยอมให้ Import ข้อมูลเข้า

B วันที่เอกสาร

C, D, E ผู้รับเงิน/คู่ค้า

I สินค้า/บริการสำหรับขาย

K คำอธิบาย

เมื่อกรอกรายละเอียดข้อมูลของแต่ละเอกสารเรียบร้อยจะมีเครื่องหมายติ๊กถูกด้านหน้าช่องลำดับที่

กรณีต้องการเพิ่มเอกสารใบเสร็จรับเงินให้กดปุ่ม + เพิ่มเอกสาร

กรณีใน 1 เอกสารใบเสร็จรับเงินมีรายการสินค้ามากกว่า 1 รายการ

ให้กดปุ่ม + เพิ่มรายการย่อย

เมื่อกดปุ่ม + เพิ่มรายการย่อยแล้ว จะมี Pop-Up ขึ้นเลือกลำดับของเอกสารที่ต้องการเพิ่มรายการย่อย เมื่อเลือกลำดับรายการเอกสารเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่มเพิ่มรายการ

จากตัวอย่างเพิ่มรายการย่อยในเอกสารลำดับที่ 2

ระบบจะเเสดงเพิ่มขึ้นมาอีก 1 บรรทัดเพื่อกรอกรายการย่อยของเอกสารที่ 2

กรณีกดเพิ่มเอกสารหรือกดเพิ่มรายการย่อยเกินสามารถลบบรรทัดนั้นๆ ได้โดยการกดเครื่องหมายกากบาท (X) ตามตัวอย่างด้านล่าง

เมื่อสร้างข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม สร้างเอกสารทั้งหมด

เมื่อกดสร้างเอกสารทั้งหมดแล้ว กระดิ่งทางมุมขวาบนจะแจ้งเตือนการ Import ใบแจ้งหนี้

สามารถกดดูข้อมูลการนำเข้าได้ที่กระดิ่ง

เมื่อกดดูข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถดูการสร้างเอกสารได้โดยกดที่เลขที่เอกสาร

ตัวอย่างหน้าใบเสร็จรับเงิน

วิธีที่ 2 การนำเข้าเอกสารใบเสร็จรับเงินโดยใช้ไฟล์ Excel

ขั้นตอนที่ 2.1. กดปุ่ม นำเข้าเอกสาร

ขั้นตอนที่ 2.2. เลือกรายการที่นำเข้าเป็นใบเสร็จรับเงิน >> กดปุ่ม ดาวน์โหลดฟอร์ม (.xlsx)

ตัวอย่างฟอร์ม Excel

แนะนำให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Description ก่อนกรอกข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2.3. เมื่อกรอกข้อมูลในไฟล์ Excel เรียบร้อยแล้วให้ทำการ Save ลงเครื่องคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนที่ 2.4. นำไฟล์ที่ Save ไว้ ลากลงในระบบ หรือกดปุ่ม ค้นหา เพื่อทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการ เมื่อได้ไฟล์เรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม นำเข้าไฟล์

– จบขั้นตอนการนำเข้าใบเสร็จรับเงิน –