นักบัญชีห้ามลืม! เก็บชั่วโมง CPD ปลายปี

ช่วงปลายปี หนึ่งภารกิจที่นักบัญชีต้องทำให้สำเร็จลุล่วง ก็คือ การเก็บชั่วโมง CPD ให้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะส่งผลทั้งทางกฎหมาย และการดำเนินการต่างๆ ได้ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทบทวนประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บชั่วโมง CPD กัน

ความหมายของการเก็บชั่วโมง CPD

การเก็บชั่วโมง CPD คือ การเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชี ในแต่ละปีปฏิทินจะต้องมีการเก็บชั่วโมง CPD ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามพ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543  ตามเนื้อหาและจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด

หลักเกณฑ์การเก็บชั่วโมง CPD  

  • ในกรณีของนักบัญชี ต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน โดยวันสุดท้ายที่สามารถเก็บชั่วโมง CPD ได้คือวันที่ 31 ธันวาคม ของแต่ละปี  สำหรับจำนวนชั่วโมง CPD ที่เก็บนั้นต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง   เช่น ในการเก็บชั่วโมง CPD 12 ชั่วโมง ต้องเป็นเนื้อหาการบัญชีอย่างน้อย 6 ชั่วโมงนั่นเอง   หากนักบัญชีแจ้งทำบัญชีเป็นปีแรก และมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่า 6 เดือน สามารถเริ่มเก็บชั่วโมง CPD ในปีถัดไปได้
  • ในกรณีของผู้สอบบัญชี ต้องเก็บชั่วโมง CPD 40 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน โดยต้องเป็นชั่วโมงทางการอย่างน้อย 20 ชั่วโมง  เป็นชั่วโมงทางบัญชี หรือสอบบัญชีอย่างน้อย 10 ชั่วโมง ส่วนที่เหลืออีก 20 ชั่วโมงจะเป็นชั่วโมงทางการ หรือชั่วโมงไม่เป็นทางการก็ได้  ในปีแรกของการเป็นผู้สอบบัญชี สามารถเก็บชั่วโมง CPD ได้ในจำนวนชั่วโมงตามสัดส่วนจำนวนเดือนที่ได้รับใบอนุญาต โดยไม่รวมเศษของเดือน

กิจกรรมที่เก็บชั่วโมง CPD แบบเป็นทางการ

สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดกิจกรรมที่สามารถเก็บชั่วโมง CPD อย่างเป็นทางการไว้หลากหลายกิจกรรม ดังนี้

  1. การอบรมหรือสัมมนา  ในหลักสูตรที่จัดขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาชีพบัญชี  โดยนับชั่วโมงได้จากหลักสูตรจำนวนชั่วโมงที่ได้รับอนุมัติ
  2. การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนา หลักสูตรที่ได้รับอนุมัติชั่วโมง CPD จากสภาวิชาชีพบัญชี  โดยนับเป็นชั่วโมงได้รวม 3 เท่าของจำนวนชั่วโมงที่ได้รับอนุมัติ
  3. การเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า โดยนับชั่วโมงได้วิชาละ 3 ชั่วโมง และนับรวมกิจกรรมนี้ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อปี
  4. การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ ในกรณีที่วุฒิการศึกษา สามารถนับเป็นชั่วโมงได้ 6 ชั่วโมง  ส่วนกรณีที่วุฒิการศึกษา สามารถนับเป็นชั่วโมงได้ 12  ชั่วโมง
  5. การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี จากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า
  6. จัดทำผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน ประกอบไปด้วย ผลงานวิชาการตามระเบียบวิจัย นับได้เป็นชั่วโมงได้ 12 ชั่วโมงต่อผลงาน และผลงานทั่วไปสามารถนับได้ 3 ชั่วโมงต่อบทความ กรณีเป็นตำราวิชาการสามารถนับชั่วโมงได้ครั้งเดียวจำนวน 12 ชั่วโมง
กิจกรรมที่เก็บชั่วโมง CPD แบบเป็นทางการ

กิจกรรมที่เก็บชั่วโมง CPD แบบไม่เป็นทางการ

     ในกรณีไม่สามารถเก็บชั่วโมง CPD จากกิจกรรมหลักที่สภาวิชาชีพกำหนดไว้อย่างเป็นทางการได้ครบ ก็สามารถเก็บชั่วโมงจากกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ดังนี้
     1. การเข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือวิชาชีพ นับชั่วโมงได้ตามจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมหรือสัมมนาจริง

      2. การรับฟังข่าวสารทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพผ่านสื่อต่าง ๆ   นับชั่วโมงได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง

      3. การอ่านวารสารวิชาการหรือบทความต่าง ๆ นับชั่วโมงได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อหนึ่งหัวข้อ

      4.  การเข้าร่วมประชุมหรืออภิปรายกลุ่ม นับชั่วโมงได้ตามจริง

      5. การศึกษาดูงานหรือเยี่ยมชมการดำเนินงานของกิจการหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นับชั่วโมงได้ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง

      6. การสัมภาษณ์หรือสอบถามเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและวิชาชีพ  นับชั่วโมงได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง

      7. การเขียนวารสารวิชาการหรือบทความต่างๆ เผยแพร่แก่สาธารณชน  นับได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 3 ชั่วโมงต่อเรื่อง

      8. กิจกรรมอื่น ๆ เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาการประกอบวิชาชีพ นับชั่วโมงได้ตามจริง

กิจกรรมที่เก็บชั่วโมง CPD แบบไม่เป็นทางการ

มาตรการสำหรับผู้ทำบัญชี ประจำปี 2564

ผู้ทำบัญชีสามารถพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ประจำปี 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ในกิจกรรมเพิ่มเติม ดังนี้

  1. การเข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือวิชาชีพ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Facbook Live หรือ Zoom  สามารถนับตามจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมสัมมนาจริง โดยใช้อัตราชั่วโมงการอบรมจริงจำนวน 1.5 ชั่วโมง ทดแทนให้เป็นชั่วโมง CPD ได้จำนวน 1 ชั่วโมง
  2. การอบรมสัมมนาโดยการรับฟังข่าวสารทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Facbook Live หรือ Zoom  สามารถนับตามจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมสัมมนาจริง โดยใช้อัตราชั่วโมงการอบรมจริงจำนวน 1.5 ชั่วโมง ทดแทนให้เป็นชั่วโมง CPD ได้จำนวน 1 ชั่วโมง

ข้อควรระวังสำหรับการเก็บชั่วโมง CPD ในปี 2564

  1. ผู้ทำบัญชีต้องตรวจสอบหลักสูตรการอบรมในแต่ละกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนสมัครเข้ารับการอบรม 
  2. หลักสูตรที่เข้ารับการอบรมต้องเป็นหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติจากสภาวิชาชีพบัญชี หากกรณีหลักสูตรไม่ได้รับการอนุมัติ ผู้ทำบัญชีจะไม่สามารถนับชั่วโมง CPD ได้
  3. ในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ถือว่าเป็นจำนวนชั่วโมง CPD ในปี 2564 เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้เป็นจำนวนชั่วโมง CPD ในปีอื่นได้อีก

แจ้งชั่วโมง CPD  ได้อย่างไร

เมื่อนักบัญชีเก็บชั่วโมง CPD เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ว่าหน้าที่จะจบลง สิ่งถัดมาที่ต้องทำก็คือ การแจ้งชั่วโมง CPD ให้เรียบร้อย ภายในวันที่ 30 มกราคมของปีถัดไป เช่น หากเก็บชั่วโมง CPD ครบแล้วในปี 2562 ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งชั่วโมงภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 นั่นเอง

ช่องทางการแจ้งชั่วโมง CPD สามารถทำได้แบบออนไลน์ผ่าน

ซึ่งทั้งสองระบบนี้เชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างกัน ดังนั้นผู้ทำบัญชีสามารถเลือกแจ้งชั่วโมงผ่านทางช่องทางใดก็ได้

เก็บชั่วโมง CPD ไม่ครบมีผลอย่างไร และต้องแก้ไขอย่างไร

ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2343 สำหรับผู้ทำบัญชีที่อบรบพัฒนาความรู้ไม่ครบตามกำหนด ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2557ข้อ 6 (3) ซึ่งออกตามความในมาตรา7 (6) ต้องระวางโทษตามมาตรา 27 ปรับไม่เกิน 10,000บาท หากได้รับหนังสือแจ้งท่านต้องชำระค่าปรับ และเมื่อชำระค่าปรับแล้วต้องอบรมชดเชยส่วนที่ขาดให้ครบถ้วนและต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องฯ ให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง

ในกรณีที่เป็นผู้สอบบัญชี หากไม่สามารถเก็บชั่วโมง CPD ได้อย่างครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถดำเนินการได้ดังนี้

ข้อปฏิบัติ เมื่อผู้สอบบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ไม่ครบ


ข้อปฏิบัติ เมื่อเก็บชั่วโมง CPD ไม่ครบ

อ้างอิง:  https://www.tfac.or.th/en/Article/Detail/67987